คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 20 กรกฏาคม 2560

เรียน คุณหมอ ดร.โอ สุขุมวิท 51
คุณหมอครับ ผมมีปัญหาเกี่ยวกับด้านสมรรถภาพทางเพศที่อยากจะเรียนปรึกษาด้วยครับ ผมอายุ 64 ปี น้ำหนัก 56 กก.สูง 154 ซม. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า สุขภาพแข็งแรงดี โรคประจำตัวของคนอายุขนาดนี้ เช่น เบาหวาน ความดัน หรือแม้แต่ภาวะไขมันในเลือดสูงก็ไม่มี ผมออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันด้วยการวิ่งสลับกับเดินเร็ว ๆ อย่างสม่ำเสมอ ผมมีความสุขทางเพศกับภรรยาได้ดีเมื่อมีความต้องการ อวัยวะเพศก็แข็งตัวได้ดีตลอดมา แต่เมื่อตั้งแต่ต้นปีนี้มาแล้ว อวัยวะเพศของผมไม่ค่อยจะแข็งตัวเหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้นน้ำอสุจิหลั่งออกมาน้อยมาก ทำให้ผมสงสัยว่าการที่มีน้ำอสุจิหลั่งออกมาน้อยแบบนี้มีส่วนทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวด้วยใช่ไหม และไม่ทราบว่าจะต้องรักษาหรือต้องกินยาอะไรเพื่อช่วยให้แข็งตัวและหลั่งออกมาได้ดีเหมือนเดิมด้วยนะครับผม
 
ด้วยความนับถือ
ส.ขมัง

ตอบ คุณ ส.ขมัง
ปัญหาของชายวัย 64 ปี คือมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่เต็มที่จนไม่สามารถร่วมเพศกับภรรยาได้และยังพบปัญหาของน้ำอสุจิออกมาน้อยลง การมีปริมาณน้ำอสุจิที่ลดน้อยลงถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับชายสูงอายุเพราะการทำงานของต่อมลูกหมากและถุงผลิตน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิเริ่มเสื่อมประสิทธิภาพ จึงทำให้การผลิตน้ำอสุจิได้น้อยลง อาการดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุขัยยิ่งอายุมากขึ้นปริมาณน้ำอสุจิยิ่งน้อยลง สำหรับอาการการไม่แข็งตัวขององคชาตนั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน

ด้านร่างกายประมาณ 70% ได้แก่ การมีอายุมากขึ้นร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนลดลงและเกิดความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติเป็นโรคเรื้อรังมานาน เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดัน โรคต่อมลูกหมาก เป็นต้น และยาที่ใช้รักษาโรคเหล่านี้ยังทำให้ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศยิ่งแย่ลงอีกด้วย

ด้านจิตใจประมาณ 20% เกิดจากความ เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า และด้านอื่น ๆ ประมาณ 10% เช่น การสูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด ใช้สารเสพติด ขาดสารอาหาร พักผ่อนไม่เพียงพอ อาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัวเต็มที่นั้นสามารถป้องกันและแก้ไขได้ด้วยการจัดปัจจัยเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด งดเหล้า บุหรี่และสารเสพติด รับประทานอาหารที่มีสัดส่วนเหมาะกับวัย ทำให้ร่างกายแข็งแรงฟิตอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ และควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หากปฏิบัติแล้วอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรับการฟื้นฟูกับแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายหาสาเหตุที่แท้จริง

ปัจจุบันมีวิธีการรักษาอาการอีดีหลายวิธี เช่น ยากินกลุ่มพีดีอี 5 ไอ การบริหารกล้ามเนื้อเพศการใช้วิธีการรักษาคลื่นเสียงความถี่ต่ำ การใช้ยาสอดยาฉีด เป็นต้น อาการอีดีถือเป็นอาการป่วยอย่างหนึ่งที่ทำให้ชีวิตขาดความสุขชีวิตคู่จะแตกแยกจากการเกิดความทุกข์ทรมานถึงขั้นเป็นศัตรูทางใจกัน จึงต้องหาแพทย์รักษาเพื่อประคองชีวิตคู่ดีกว่ากัดฟันอยู่คู่กันอย่างฝืนใจ และทรมานจิตใจกันทั้งคู่อีก 5-10-20 ปี โดยใช่เหตุ

ท่านใดที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศที่จะต้องขอถามหรือขอคำแนะนำปรึกษาให้โทรฯ ได้ที่เบอร์ 08-4636-2789, 08-1814-5441 เว็บไซต์ www.meetdoctoro.com Line ID : droclinic

.............................
ดร.โอ สุขุมวิท 51