คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560

ถุงหรือซีสต์ของอวัยวะเพศชาย (Penile Cysts)
ถุงนํ้าของอวัยวะเพศชายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักคือ ถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ (median raphe)urethroid) และถุงไขมันผิวหนัง [(follicular) Epidermoid cysts] ถุงไขมันผิวหนัง เป็นถุงนํ้าที่พบมากที่สุดของอวัยวะเพศชายและมักเกิดขึ้นบริเวณแกนขององคชาต ส่วนถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศเป็นถุงนํ้า ที่พัฒนาเกิดขึ้นบริเวณแนวกลางของลำตัวซึ่งปรากฏบริเวณจากปลายท่อปัสสาวะด้านนอกจนถึงทวารหนัก รวมทั้งบริเวณด้านล่างของอวัยวะเพศ

พยาธิสรีรวิทยา
ถุงไขมันผิวหนังเป็นผลมาจากการแยกออกมาของหน่วยรูขุมขนและต่อมไขมัน (pilosebaceous unit) พยาธิกำเนิดของถุงไขมันผิวหนังบริเวณแนวกลางลำตัวอวัยวะเพศซึ่งไม่มีรูขุมขน (hair follicles) ยังไม่ทราบชัดเจน ถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ (median raphe) เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการปิดของแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ(median raphe) หรือเป็นผลจากเยื่อบุผิวบริเวณท่อปัสสาวะหรือรอบ ๆ ท่อปัสสาวะ

อาการแสดงและการวินิจฉัยทางคลินิก
อาการแสดงทางคลินิกของถุงนํ้าทั้งสองคือเป็นก้อนขึ้นมาที่ไม่มีอาการ ถุงนํ้ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.2-2 ซม. ถุงไขมันบริเวณผิวหนัง ( Epidermoid) มักพบบริเวณฐานของอวัยวะเพศชาย ถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ (median raphe) มักพบบริเวณด้านล่างของอวัยวะเพศ จากด้านนอกของท่อปัสสาวะไปจนถึงฐานของอวัยวะเพศ ไม่ค่อยพบบริเวณถุงอัณฑะ ถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ ส่วนใหญ่พบชายหนุ่ม ส่วนถุงไขมันผิวหนังพบได้ในหลายช่วงอายุ ดังนั้นตำแหน่งของถุงนํ้ามีความสำคัญในการวินิจฉัย การวินิจฉัยบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อ ถ้าไม่แน่ใจในการวินิจฉัย

การรักษาและผลการรักษา
การรักษาของทั้งถุงไขมันผิวหนังและถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ คือการผ่าตัดนำออกไป ผลการรักษาของถุงทั้งสองชนิดของอวัยวะเพศได้ผลดีมาก อย่างไรก็ตามมีผลข้างเคียง 2-3 ประการ คือ ถ้าถุงทั้งสองไม่ได้รับการรักษา ถุงอาจแตกได้ รวมทั้งอาจเกิดการอักเสบและเป็นพังผืดตามมา ภาวะแทรกซ้อนของการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ อาจเกิดจากการรักษาด้วยการผ่าตัดรักษาถุงบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศ ซึ่งเกิดขึ้นใกล้บริเวณท่อปัสสาวะหรือปลายท่อปัสสาวะ นอกจากนี้ อาจพบการเป็นซํ้าเกิดขึ้นใหม่ของถุงนํ้าบริเวณแนวประสานตรงกลางปลายอวัยวะเพศหลังการผ่าตัดนำออก แต่ไม่พบบ่อย.

................................................
ศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล