คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 13 มิถุนายน 2561

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
คำแนะนำกิจกรรมทางเพศเหมาะกับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และไม่มีภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง ไม่มีโรคลิ้นหัวใจอย่างรุนแรง และไม่มีอาการอย่างมีนัยสำคัญ หรือไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ที่ไม่สามารถควบคุมได้ พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมากกว่า 1 ล้านคน และ อายุมากกว่า 21 ปีในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยที่เป็นโรคแบบพื้นฐาน อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือหลอดเลือดแตก) และอาจมีภาวะหัวใจขาดเลือดได้ แต่เกิดยาก

จนถึงปัจจุบัน มีรายงานในการเสียชีวิตหรือโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่างมีกิจกรรมทางเพศในประชากรกลุ่มนี้น้อยมาก มีการศึกษาหนึ่งรายงานว่า ร้อยละ 9 ของผู้หญิงที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีอาการในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงอาการหายใจลำบาก ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ รู้สึกเหนื่อยล้าเหมือนจะมีอาการเป็นลม พบบ่อยมากในผู้ป่วย โรคหัวใจแต่กำเนิดซึ่งมีอาการรุนแรง การทำงานของหัวใจแย่ลง หรือมีหน้าเขียวคลํ้า ซึ่งทราบได้จากคู่นอนสังเกตเห็นระหว่างมีเพศสัมพันธ์

มีการทำแบบสำรวจพบว่าในผู้ชายโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ร้อยละ9 รายงานว่ามีหอบเหนื่อยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ9 คิดไปเองว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ และร้อยละ 5 มีอาการเจ็บหน้าอกระหว่างมีเพศสัมพันธ์

มีแนวทางการปฏิบัติให้ทำกิจกรรมได้ไม่จำกัดในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่ไม่มีอาการและความผิดปกติของผนังหัวใจเล็กน้อย จากพื้นฐานของคำแนะนำดังกล่าว การมีกิจกรรมทางเพศมีความเหมาะในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อย่างไรก็ตาม การมีกิจกรรมทางเพศไม่เหมาะกับผู้ป่วยซึ่งมีความดันโลหิตในปอดสูง โรคหัวใจเขียวคลํ้า มีทางออกของเลือดอุดตันที่หัวใจด้านซ้ายอย่างรุนแรง การเต้นผิดจังหวะของหัวใจที่ไม่สามารถควบคุมได้ หลอดเลือดหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

มีรายงานการใช้ยาคุมกำเนิดและการตั้งครรภ์มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญในผู้หญิงโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มีการศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับผู้หญิงโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีความเสี่ยงสูงระหว่างการตั้งครรภ์ จากผลข้างเคียงของโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้พบว่าร้อยละ 28 ไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม ตรงกันข้ามพบว่าร้อยละ 20 กลับใช้วิธีที่เป็นข้อห้ามสำหรับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด พบว่าร้อยละ 43 ไม่ได้รับคำปรึกษาในการคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง และ พบว่าร้อยละ 43 ไม่ได้รับข้อมูลความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์.

.....................................................
ศ.นท.ดร.นพ.สมพล  เพิ่มพงศ์โกศล