คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 18 กรกฎาคม 2561

ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในโรคหัวใจและหลอดเลือด

การบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดเฉพาะที่และชนิดทาผิวหนัง คำแนะนำมีข้อสนับสนุนการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เป็นแบบเฉพาะที่หรือชนิดทาผิวหนังสำหรับการรักษาภาวะ เจ็บในอุ้งเชิงกรานขณะมีเพศสัมพันธ์ ในผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจตีบ ว่ามีความเหมาะสมและสมเหตุสมผล อาการที่พบได้บ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งยังคงมีกิจกรรมทางเพศคือช่องคลอดแห้งและความเจ็บปวดจากการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนผ่านทางช่องคลอดเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอาหารและยารับรองว่าเป็นยาเพื่อให้การบรรเทาอาการของมดลูกฝ่อซึ่งมักพบในสตรีวัยหมดระดูและหมดประจำเดือน

ฮอร์โมนเอสโตรเจนเฉพาะที่สามารถใช้กับช่องคลอดเพื่อรักษาอาการเจ็บที่ช่องคลอดจากการสอดใส่องคชาตได้ ความกังวลใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเพิ่มขึ้น ถูกยกขึ้นมาจากหลายผลการทดลองใหญ่ ๆ ในผู้หญิงที่ได้รับประทานยาร่วมกันของเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน (progesterone ; เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยรังไข่หลังจากที่มีการตกไข่คือ หลังจากที่ไข่ของผู้หญิงออกจากรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่) อย่างไรก็ตามการทดลองด้วยการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวไม่ได้รายงานว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยมากจากการใช้ทาช่องคลอด และฮอร์โมนเอส โตรเจนทาเฉพาะที่ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงใด ๆ ต่อหัวใจและหลอดเลือด

ยาสมุนไพร คำแนะนำ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจควรได้รับเตือนว่าการใช้ยาสมุนไพรที่ไม่ทราบส่วนผสมซึ่งนำมาใช้ในการรักษาความผิดปกติทางเพศ อาจมีแนวโน้มในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ มีการโฆษณายาสมุนไพรจำนวนมากสำหรับผู้ป่วยเพื่อรักษาความบกพร่องทางเพศ ยาบางชนิดเหล่านี้อาจประกอบด้วยยาชนิดอื่น เช่น ยายับยั้งเอนไซม์พีดีอี-5 หรือสารเคมีคล้ายคลึงกัน ยาโยฮิมไบน์ (Yohimbine) หรือ ยาแอล-อาร์จินีน (L-Arginine; กรดอะมิโนที่ถือว่าจะกระตุ้นให้ร่างกายผลิต ไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) เพื่อช่วยในเรื่องการขยายตัวของหลอดเลือด) 

ยาดังกล่าวสามารถมีปฏิกิริยากับยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดความดันโลหิต หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการเตือนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและหัวใจเกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมที่ไม่ทราบ และโฆษณาเพื่อรักษาความบกพร่องทางเพศ.

...............................................
ศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล