คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 8 สิงหาคม 2561

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเป็นสาเหตุกระตุ้นให้ปัสสาวะอย่างเฉียบพลันหรือเร่งรีบ (urinary urgency) โดยยากที่จะควบคุมหรือหยุด และอาจนำไปสู่ปัสสาวะเล็ดราด (urge incontinence)โดยไม่ได้ตั้งใจ
ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน อาจรู้สึกละอาย อึดอัด แยกตัวเอง หรือ จำกัดการทำงานและชีวิตทางสังคมของผู้ป่วย นอกจากนี้พบว่าภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินอาจมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ลดลงโดยไม่คำนึงถึงปัสสาวะเล็ดราด (urge incontinence) อาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินในผู้ป่วยวัยกลางคนหรือผู้สูงวัยมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อย่างไรก็ตามการประเมินวินิจฉัยผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน พบว่าสามารถระบุได้ว่ามีสาเหตุเฉพาะเจาะจงสำหรับอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน สำหรับการรักษามักจะเริ่มต้นด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ทำตารางการดื่มน้ำ ตารางการปัสสาวะ และเทคนิคการเก็บกักกระเพาะปัสสาวะโดยการฝึกใช้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หากความพยายามเริ่มต้นดังกล่าว ไม่สามารถช่วยให้อาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินดีขึ้นได้แล้ว ควรพิจารณา รับประทานยารักษา

อาการแสดงของภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินคืออะไร ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินจะมีอาการดังนี้ ความรู้สึกอย่างฉับพลันกระตุ้นให้ปัสสาวะ ซึ่งยากที่จะควบคุมคือปัสสาวะเร่งรีบ (urinary urgency), อาจมีปัสสาวะเล็ดราด (urge incontinence) หรือไม่ก็ได้คือ มีปัสสาวะรั่วโดยไม่ตั้งใจเนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนในการปัสสาวะ, นอกจากนี้มีปัสสาวะบ่อย โดยปกติให้นิยามปัสสาวะบ่อย คือปัสสาวะบ่อยเท่ากับหรือมากกว่าแปดครั้งหรือมากกว่าใน 24 ชั่วโมง, ต้องตื่นลุกขึ้นจากเตียงนอนเท่ากับหรือมากกว่าสองครั้งในเวลากลางคืนเพื่อปัสสาวะ (nocturia) และถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะสามารถไปห้องน้ำทันเวลาเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะเร่งรีบ ปัสสาวะบ่อยที่ไม่คาดคิดและการถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืนสามารถทำลายชีวิตของผู้ป่วยได้ รวมทั้งปัญหากิจกรรมทางเพศ

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ แม้ว่าอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินพบบ่อยในผู้สูงอายุ ภาวะโรคดังกล่าวไม่ใช่เรื่องปกติของผู้สูงอายุหรือเป็นไปตามอายุ ถ้าอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินทำให้เกิดความเครียดหรือรบกวนชีวิต ควรพูดคุยกับแพทย์ เพราะมีการรักษาที่อาจช่วยผู้ป่วยได้ การปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวกับแพทย์อาจไม่ง่าย แต่เป็นการคุ้มค่าที่จะพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการของคุณขัดขวางกำหนดการทำงาน การติดต่อทางสังคมและกิจกรรมประจำวันของคุณผู้ป่วย.
......................................................
ศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล