คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 19 กันยายน 2561

ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินส่วนใหญ่แล้วจะช่วยกระเพาะปัสสาวะผ่อนคลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และลดอาการปัสสาวะเล็ดราด ยาเหล่านี้ อาทิ ยาโทลเทโรดีน, ยาออกซีบิวไทนิน, ยาโทรสเปียมคลอไรด์, ยาโซลิเฟนาซิน, ยามิราเบกรอน ฯลฯ ผลข้างเคียงที่พบโดยทั่วไปของยาเหล่านี้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ตาแห้งและปากแห้ง แต่การดื่มน้ำเพื่อดับกระหายอาจทำให้อาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินมากขึ้น, ท้องผูก-อีกผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น–สามารถทำให้อาการกระเพาะปัสสาวะรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามยารูปแบบปลดปล่อยแบบชะลอ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง

การฉีดโบท็อกซ์ (Botox)เข้ากระเพาะปัสสาวะ โบท็อกซ์ ชื่อสามัญคือ โบทูลินัมท็อกซินชนิดเอ (Botulinum Toxin type A) เป็นโปรตีนจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคพิษงูสวัด แพทย์จะใช้โบท็อกซ์ ในปริมาณเล็กน้อยโดยฉีดตรงเข้าไปในเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะ โปรตีนนี้ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบางส่วนเป็นอัมพาต การวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าโบท็อกซ์ อาจเป็นประโยชน์สำหรับอาการปัสสาวะเล็ดราดอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตามประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการฉีดยาเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงร้อยละ 9 ที่มีปัสสาวะไม่ออกได้

การกระตุ้นเส้นประสาท การควบคุมแรงกระตุ้นของเส้นประสาทในกระเพาะปัสสาวะสามารถช่วยทำให้อาการโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินดีขึ้น ขั้นตอนหนึ่งใช้ลวดบาง ๆ วางไว้ใกล้กับเส้นประสาทบริเวณกระดูกกระเบนเหน็บ แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะซึ่งจะผ่านใกล้กระดูกสันหลัง ขั้นตอนการผ่าตัดนี้มักทำด้วยการทดลองใช้ลวดชั่วคราวหรือเป็นขั้นตอนขั้นสูงที่จะมีการฝังขั้วไฟฟ้าถาวรและจะมีการทดลองใช้อีกต่อไปก่อนที่จะมีการผ่าตัดฝังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ จากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์เชื่อมต่ออยู่กับสายลวดเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกระเพาะปัสสาวะคล้ายคลึงกับเครื่องกระตุ้นหัวใจสำหรับหัวใจ

การรักษาทางศัลยกรรม การผ่าตัดเพื่อรักษากระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินจะสงวนไว้สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น ๆ โดยการผ่าตัดรักษาทางศัลยกรรมรวมถึง การผ่าตัดเพื่อเพิ่มความจุปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะ ขั้นตอนนี้ใช้ชิ้นส่วนของลำไส้ของผู้ป่วยเพื่อแทนที่ส่วนของกระเพาะปัสสาวะ การผ่าตัดนี้ใช้เฉพาะในกรณีที่มีภาวะอาการปัสสาวะเล็ดราด อย่างรุนแรง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ การผ่าตัดนี้ ผู้ป่วยอาจต้องใช้สายสวนเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงที่เหลือของชีวิตเพื่อระบายกระเพาะปัสสาวะให้หมด การผ่าตัดนำกระเพาะปัสสาวะออก ขั้นตอนนี้ใช้เป็นวิธีสุดท้าย การผ่าตัดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดนำกระเพาะปัสสาวะออก และการผ่าตัดสร้างกระเพาะปัสสาวะเทียมหรือการผ่าตัดนำบางส่วนของลำไส้มาทำเป็นท่อ เปิดหน้าท้องแล้วต่อกับถุงเป็นกระเป๋าบนผิวหนังหน้าท้อง.
.....................................................
ศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล