คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561

มีบทความทางสุขภาพ (Healthline) ที่น่าสนใจเกี่ยวกับความเครียดและความกังวลเป็นสาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และอธิบายว่าทำไมความเครียด ความวิตกกังวล เป็นสาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จะจัดการอย่างไรกับความเครียด ความวิตกกังวล และจะป้องกันโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอย่างไร

ความเครียด ความวิตกกังวล และโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ชายจำนวนมากประมาณ 18 ล้านคนที่มีอายุเกิน 20 ปีขึ้นไปในประเทศสหรัฐอเมริกา บางงานวิจัยเสนอความเห็นว่าจำนวนจริงของผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจใกล้เคียงกับ 30 ล้านคนซึ่งอาจเป็นเพราะมีการรายงานต่ำน้อยกว่าความเป็นจริง เมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาในการคงการแข็งตัวของอวัยวะเพศไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุเสมอไป ผู้ชายหลายคนอาจมีอาการโรคหย่อนสมรรถภาพในบางครั้งชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้ในปัจจุบันมีวิธีระบุหาสาเหตุของโรคและสามารถรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศให้อาการดีขึ้นได้

สาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นได้ทั้งทางด้านจิตใจและทางกายภาพ การรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเนื่องจากทางกายภาพจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับสภาพและความรุนแรงของโรคผู้ป่วย การศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางจิตวิทยาเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สาเหตุทางจิตใจได้แก่ปัจจัยด้านอารมณ์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักรักษาได้ คือการกำจัดความเครียดและความวิตกกังวล

การเพิ่มขึ้นของความเครียดและความวิตกกังวลสามารถเพิ่มความเสี่ยงโรคอื่น ๆ ตามมาได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อมได้เช่นกัน โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไขมันในหลอดโลหิตสูง, โรคอ้วน และการติดสุราเรื้อรัง

ความเครียดและความวิตกกังวลทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้อย่างไร? โดยทั่วไปองคชาตสามารถแข็งตัวได้จากสามสถานการณ์ เช่น 1. จากการกระตุ้นทางร่างกาย 2. จากกระตุ้นทางจิตใจโดยสัมพันธ์กับการมองด้วยสายตาหรือจิตใจ และ 3. ตอนกลางคืนระหว่างการนอนหลับ การแข็งตัวขององคชาตตามสถานการณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับระบบและกระบวนการทางร่างกายเป็นสำคัญ การหยุดชะงักหรือสูญเสียของกระบวนการเหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้แก่ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อ ระบบฮอร์โมน ระบบจิตใจและอารมณ์.
......................................................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล