คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562

การรักษา การบำบัดภาวะองคชาตแข็งค้าง เลือดส่วนเกินจะถูกระบายออกจากองคชาตโดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กดูดออก ส่วนหนึ่งของขั้นตอนนี้คืออวัยวะเพศชายอาจถูกล้างด้วยสารละลายน้ำเกลือ การรักษานี้มักช่วยบรรเทาอาการปวด ขจัดเลือดที่ไม่ดีจากการขาดออกซิเจนและอาจหยุดปัญหาองคชาตแข็งค้างได้ การรักษาวิธีนี้อาจทำซ้ำ ๆ จนกว่าการแข็งตัวขององคชาตจะหยุดลง

ยารักษาองคชาตแข็งค้าง ยาในกลุ่มซิมพาโทมิเมติค เช่น ยาฟีนิลเอฟรีน เป็นยาที่สามารถออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองและประสาทส่วนปลายในอวัยวะของร่างกายหลายระบบ เช่น การเต้นของหัวใจ การไหลเวียนของเลือด การบีบตัวของหลอดเลือด การขยายของหลอดลม เป็นต้น

การฉีดยาฟีนิลเอฟรีน เข้าภายในองคชาต เพื่อให้หลอดเลือดหดตัวจำกัดการนำเลือดเข้าสู่องคชาต ยาจะออกฤทธิ์ช่วยให้หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากองคชาตเปิดออกและทำให้เลือดใหม่ไหลออกมามากขึ้น การรักษาวิธีนี้อาจทำซ้ำหลายครั้งถ้าจำเป็น แพทย์จะตรวจสอบและควบคุมผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะและความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ

ขั้นตอนการผ่าตัดหรืออื่น ๆ หากการรักษาวิธีอื่น ๆ ที่กล่าวข้างต้นไม่ประสบความสำเร็จ ศัลยแพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเส้นทางการไหลเวียนของเลือดเพื่อให้เลือดสามารถไหลผ่านอวัยวะเพศได้ตามปกติหากมีโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาเพิ่มเติมที่ใช้ในการรักษาขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
กับโรค

ภาวะองคชาตแข็งค้าง (ประเภทไม่ขาดเลือด) มักหายได้โดยไม่มีการรักษา เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงต่อความเสียหายต่ออวัยวะเพศชาย แพทย์อาจแนะนำวิธีการเฝ้าดูและรออย่างใกล้ชิดการใส่ถุงน้ำแข็งประคบและกดบริเวณฝีเย็บ-บริเวณระหว่างฐานขององคชาตและทวารหนัก อาจช่วยหยุดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ

ขั้นตอนการผ่าตัดหรืออื่น ๆ
ในบางกรณีการผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องใส่วัสดุ เช่น เจลที่ดูดซึมได้ซึ่งจะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศชั่วคราว ในที่สุดร่างกายจะดูดซับวัสดุนั้นไป การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นในการซ่อมแซมหลอดเลือดแดงหรือความเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกิดจากการบาดเจ็บ.
.....................................................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล