คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 6 พฤศจิกายน 2562

การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนในระยะยาวในกลุ่มผู้สูงอายุของผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง และโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สามารถปรับปรุงค่าพารามิเตอร์การเผาผลาญหลายอย่าง รวมถึงเส้นรอบเอวและดัชนีมวลกาย ระดับไขมันคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HBA1c) และความดันโลหิตในระยะเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าการทดลองแบบสุ่มตัวอย่างและใช้ยาหลอกในระยะยาวและกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่เพื่อการประเมินผลของการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนลงพุงยังขาดอยู่

ระบาดวิทยา การขาดคำจำกัดความอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากลสำหรับภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง ทำให้การประเมินความชุกของโรคเป็นความท้าทายที่สำคัญซึ่งหมายถึงความยากของการได้คำตอบทางระบาดวิทยา มีการศึกษาที่สำคัญได้กำหนดภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่องอย่างแท้จริงตามเงื่อนไขทางชีวเคมีและระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ในตอนเช้าที่น้อยกว่า 10.4 นาโนโมล/ลิตร หรือ 300 นาโนกรัม/เดซิลิตร มีรายงานหนึ่งระบุว่าพบร้อยละ 38.7 ของผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว

ในการศึกษาระยะยาวของประเทศสหรัฐอเมริกาเรื่องผู้สูงอายุ พบว่าร้อยละ 19 ของผู้ชายในช่วง 60 ปีที่มีฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือดัชนีเทสโทสเตอ โรนที่เป็นอิสระต่ำ คือระดับเทสโทสเตอโรน รวมน้อยกว่า 11.3 นาโนโมล/ลิตร หรือ 325 นาโนกรัม/เดซิลิตร หรือดัชนีเทสโทสเตอโรนที่เป็นอิสระที่น้อยกว่า 0.153 นาโนโมล/นาโนโมล มีการศึกษาหนึ่งได้ทบทวนผู้ชายจำนวน 3,000 คน อายุระหว่าง 40 ถึง 79 ปี
สรุปได้ว่าอาการทางเพศ มีเพียงสามอาการคือ ความใคร่หรือความต้องการทางเพศลดต่ำลง โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และการแข็งตัวของอวัยวะเพศ มีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนต่ำ

ดังนั้น คำจำกัดความที่เข้มงวดสำหรับภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง โดยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่รวมกันน้อยกว่า 11.1 นาโนโมล/ลิตร หรือ 320 นาโนกรัม/เดซิลิตร รวมกับการปรากฏของอาการทางเพศสามอย่าง คือความต้องการทางเพศลดลง โรคหย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ และการแข็งตัวเองขององคชาต ด้วยคำจำกัดความนี้คาดว่ามีเพียงร้อยละ 2.1 ของผู้ชายอายุ 40 ถึง 79 ปี ที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง.
......................................................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล