คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562

อาการทางคลินิก ความผิดปกติทางเพศเป็นคำที่กว้างซึ่งรวมถึงอาการหลายอย่างรวมถึงโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การหลั่งน้ำอสุจิเร็วหรือล่าช้ากว่าปกติ และความใคร่หรือความต้องการทางเพศลดลง บทบาททางเพศชายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงระดับฮอร์โมน การออกกำลังกายทั่วไป ความต้องการทางเพศ องค์ประกอบทางจิตวิทยา และรวมถึงสถานะปัจจุบันของความสัมพันธ์ของทั้งคู่

การศึกษาอื่น ๆ จำนวนมากแสดงให้เห็นว่าความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์จะลดลงตามอายุ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะทางธรรมชาติที่ซับซ้อนของความผิดปกติทางเพศ พบว่าเป็นการยากที่จะแยกออกว่าสิ่งผิดปกติเหล่านี้เป็นผลทางสรีรวิทยา จิตวิทยาหรือพยาธิสภาพของการแก่ชรา ยิ่งกว่านั้นถ้าเราจะสมมุติว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพยาธิวิทยา มีโรคประจำตัวหลายโรค และรวมถึงยาเสพติด อาจเป็นจากการศึกษาจำนวนหนึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศและภาวะความบกพร่องของฮอร์โมนเพศของผู้ชาย

มีข้อสรุปเป็นหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่องและโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จากหลายงานวิจัยของการทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานของการทดลองแบบสุ่มตัวอย่าง 1.) ในภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง การรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนทำให้เกิดผลกระทบต่อความต้องการทางเพศอย่างมาก 2.) ในผู้ชายซึ่งมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำกว่า 12 นาโนโมลต่อลิตร การให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทนสามารถช่วยเพิ่มจำนวนครั้งของการแข็งตัวขององคชาตช่วงกลางคืน ความคิดและแรงจูงใจทางเพศ จำนวนครั้งของการมีเพศสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ คะแนนของสมรรถภาพทางเพศและความพึงพอใจโดยรวมทางเพศ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์แบบการถดถอยพบว่าการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนมีผลต่อการแข็งตัวขององคชาตและสัมพันธ์กับระดับพื้นฐานของฮอร์โมนเพศชาย แต่ไม่มีผลต่อความต้องการทางเพศ

3.) การแข็งตัวขององคชาตตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายร้อยละ 65.4 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมร้อยละ16.7 และ 4.)มีงานวิจัยอื่น ๆ ซึ่งมีข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกัน
คือผลการวิจัยส่วนใหญ่แสดงว่าการรักษาให้ฮอร์ โมนเพศชายทดแทนไม่มีผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมในเรื่องโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาข้างต้นมีข้อจำกัดหลายประการ มีการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทนช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศของผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่อง แต่ไม่มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือความพึงพอใจทางเพศโดยรวม มีการตั้งข้อสังเกตความแตกต่างที่สำคัญในขนาดผลและความเสี่ยงของการมีอคติในการรายงาน.
......................................................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพอ่มพงศ์โกศล