คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 11 ธันวาคม 2562

ภาวะมีบุตรยาก การใช้ฮอร์โมนเพศชายจากภายนอกร่างกาย จะทำให้เกิดกลไกแบบยับยั้งย้อนกลับหรือการป้อนกลับเชิงลบของแกนกลางของสมอง ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศชายในลูกอัณฑะลดลง และเป็นผลให้กระบวนการสร้างตัวอสุจิผิดปกติตามมา กลไกนี้แสดงให้เห็นว่ามีทั้งขนาดและขึ้นกับช่วงเวลาของการให้ฮอร์โมนเพศชาย

ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจดีว่า ผลกระทบของฮอร์โมนเพศชายภายนอกร่างกายต่อการสร้างอสุจิ จากข้อมูลการทดลองโดยใช้ฮอร์โมนเพศชายเป็นยาคุมกำเนิดเพศชาย ขนาดของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน 200 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อทำให้เกิดภาวะที่ไม่มีตัวอสุจิ (azoospermia) ในเวลาเฉลี่ย 120 วัน นักวิจัยได้เปรียบเทียบงานวิจัย 30 การศึกษา ได้ประเมินเวลาในการฟื้นตัวของตัวอสุจิแบบปกติทั่วไปได้ถึง 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรคือร้อยละ 67 (61–72) ภายใน 6 เดือน ร้อยละ 90 (85–93) ภายใน 12 เดือน และร้อยละ 100 ภายใน 24 เดือน อย่างไรก็ตามการศึกษาอื่น ๆ ได้ชี้ให้เห็นว่าผลข้างเคียงของฮอร์โมนเพศชายภาย นอกร่างกาย อาจมีฤทธิ์ยาวนานขึ้น

ข้อโต้เถียงเกี่ยวกับการให้ฮอร์ โมนเพศชายทดแทน
ไม่ต้องมีข้อสงสัยว่าทำไมยอดขายของการให้ฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา มีนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2543 และ 2554 ยอดขายฮอร์โมนเพศชายทั้งหมดเพิ่มขึ้น 12 เท่าทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 1.8 พันล้านดอลลาร์ในปีพ.ศ. 2554 นักวิจัยได้รายงานว่าระหว่างปี พ.ศ. 2544 และ 2553 จำนวนใบสั่งยาสำหรับการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายเสริมเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 90 โดยมีค่าใช้จ่ายของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 267 จากการศึกษาขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ใช้ฮอร์โมนเพศชายในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ชายอายุระหว่าง 40 และ 74 ปีที่อายุ 76 ปี ซึ่งหมายความว่าภาวะฮอร์โมนเพศชายบกพร่องเป็นโรคที่มีส่วนทำให้ยอดขายฮอร์โมนเพศชายเพิ่มสูงขึ้น

ยอดขายฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนนี้ได้รับการส่งเสริมจากการพัฒนาวิธีการได้รับฮอร์โมนเพศชายที่สะดวกมากขึ้น ในอดีตการเสริมฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั้นพึ่งพาจากการบำบัดด้วยการฉีดทุก ๆ สองหรือสามสัปดาห์ ซึ่งไม่สะดวกและอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายจากระดับฮอร์โมนเพศชายมีความผันผวนลดลงอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยแสดงความข้องใจเรื่องกิจกรรมทางเพศและอารมณ์แปรปรวน ยิ่งไปกว่านั้นความผันผวนเหล่านี้อาจนำไปสู่ผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายเช่นภาวะเลือดข้น ( polycythaemia) จากการที่ฮอร์โมนเพศชายกระตุ้นไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงในจำนวนที่มากผิดปกติ ทำให้เลือดข้นขึ้น.
.....................................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล