คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 16 กันยายน 2563

ระบาดวิทยา ถึงแม้ว่าโดยรวมภาวะองคชาตแข็งค้าง ภาวะอวัยวะเพศชายแข็งค้างหรือโด่ไม่รู้ล้ม จะเป็นภาวะที่พบน้อยมาก แต่มีการประเมินคาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศทั้งหมดโดยรวมเข้ารับการรักษามากกว่า 10,000 ราย / ปี เกิดจากภาวะองคชาตแข็งค้าง แต่ไม่จำเป็นต้องเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการร่วมเพศ

ภาวะองคชาตแข็งค้างหมายถึงภาวะผิดปกติที่เกิดกับองคชาต โดยองคชาตจะมีลักษณะแข็ง เกร็ง ค้าง ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป องคชาตแข็งขึ้นมาเองโดยไม่ได้มีการกระตุ้นทางเพศ เกิดขึ้นนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย เกิดโดยไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และจะแข็งค้างอยู่ได้นาน

การนำเสนอทางคลินิก โดยพื้นฐานแล้วมีภาวะองคชาตแข็งค้างสองประเภท คือ แบบมีภาวะขาดเลือด (Ischemic) และแบบไม่มีภาวะขาดเลือด

1. ภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดขาดเลือด ผู้ป่วยภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดขาดเลือด จะมีความเจ็บปวดมากบริเวณอวัยวะเพศซึ่งแข็งมาก พยาธิสภาพคือไม่มีการไหลเวียนของเลือดไปที่เนื้อเยื่อเกี่ยวกับการแข็งตัวคล้ายฟองน้ำเป็นลำยาวตลอดองคชาต (corpora cavernosa) ถ้ามีเลือดเข้ามาในองคชาตก็จะน้อยมาก อาจกล่าวได้ว่าภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดขาดเลือดเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน บางครั้งยังถูกเรียกว่า กลุ่มอาการของภาวะความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้น (compartment syndrome) คือภาวะช่องปิดกล้ามเนื้อมีความดันสะสมในระดับที่เป็นอันตราย เนื่องจากพังผืดไม่ขยายตัวอันเป็นผลมาจากการบวมภายในช่องปิดของกล้ามเนื้อ ก๊าซในเลือดของโพรงในเลือดระหว่างภาวะองคชาตแข็งค้างมักจะเผยให้เห็นถึงการเกิดเลือดเป็นกรด
นอกจากนี้ผู้ป่วยภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดขาดเลือดยังมีอาการที่เรียกว่าภาวะองคชาตแข็งค้างแบบเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะขาดเลือด โดยเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดจากองคชาตแข็งตัวแบบกำเริบหรือเป็นซ้ำเป็น ๆ หาย ๆ และไม่พึงประสงค์ ในที่สุดภาวะองคชาตแข็งค้างสามารถแก้ไขได้เอง แต่เนื่องจากการเกิดซ้ำเป็น ๆ หาย ๆ และอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

2. ภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดที่ไม่ขาดเลือด โดยปกติภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดที่ไม่ขาดเลือด จะไม่มีอาการเจ็บปวดและอวัยวะเพศไม่แข็งเท่าปกติ มักเป็นผลมาจากการบาดเจ็บหรือสาเหตุที่ไม่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อความผิดปกติของการไหลเวียนของเลือดสูงซึ่งเป็นผลจากการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ภาวะองคชาตแข็งค้างชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วน.
...............................
ศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล...