คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 23 ธันวาคม 2563

ภาวะแทรกซ้อน ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ทุกประเภทอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย หากอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินรบกวนต่อชีวิตประจำวัน ท่านอาจมี ความเครียดทางอารมณ์หรือภาวะซึมเศร้า, ความวิตกกังวล,ความผิดปกติด้านการนอนและวงจรการนอนหลับที่ถูกรบกวนขัดจังหวะ, ปัญหาเพศสัมพันธ์ ในบางกรณีการรักษาภาวะที่เกี่ยวข้องเหล่านี้อาจช่วยปัญหาอาการปัสสาวะได้

ผู้หญิงที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินอาจมีความผิดปกติที่เรียกว่าภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบผสมคือภาวะที่ผู้ป่วยมีทั้งภาวะไอจามปัสสาวะเล็ดและภาวะปัสสาวะราดรวมกัน เมื่อเกิดทั้งปัสสาวะเร่งรีบและปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง โดยไม่ได้ตั้งใจคือการที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาเมื่อความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น โดยไม่มีการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ หรือมีการยืดตัวของกระเพาะปัสสาวะมากผิดปกติ ภาวะปัสสาวะเล็ดนี้จะตรวจพบเมื่อมีกิจกรรมทางกาย เช่น ไอ จาม หัวเราะหรือออกกำลังกาย เช่น วิ่ง ยืน เดิน การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จากความดันในช่องท้องไม่น่าจะช่วยให้อาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ ในทำนองเดียวกันการรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไม่น่าจะช่วยให้อาการเล็ดขณะออกแรงในช่องท้องดีขึ้น

บางคนอาจมีปัญหารวมทั้งในการกักเก็บกระเพาะปัสสาวะและปัญหาปัสสาวะออกร่วมกัน กระเพาะปัสสาวะอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะเร่งรีบมากและถึงขั้นกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดอาการปัสสาวะออกไม่หมด แพทย์อาจช่วยท่านแก้ปัญหาร่วมเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะได้

การป้องกัน การเลือกวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้อาจลดความเสี่ยงของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ รักษาน้ำหนักให้สุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำทุกวัน จำกัดการบริโภคกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่รักษาภาวะโรคเรื้อรังเช่นโรคเบาหวานที่อาจทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เรียนรู้ว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของท่านอยู่บริเวณใดแล้วเสริมความแข็งแกร่ง โดยการออกกำลังกายแบบคีเกล (Kegel) คือการออกกำลังกายที่ช่วยบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นส่วนที่รองรับช่องคลอด ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ ไม่ให้เลื่อนลงมา

การออกกำลังกายแบบคีเกลจึงทำให้อวัยวะเหล่านี้แข็งแรง กระชับ ไม่หย่อนยาน และผลพลอยได้คือช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้แก่สาว ๆ หนุ่ม ๆ เวลามีเพศสัมพันธ์อีกด้วย กระชับ (หด) กล้ามเนื้อเกร็งค้างไว้สองวินาทีและคลายกล้ามเนื้อเป็นเวลาสามวินาที บริหารจนถึงการหดตัวค้างไว้เป็นเวลาห้าวินาทีแล้วครั้งละ 10 วินาที ทำซ้ำสามชุด 10 ครั้งในแต่ละวัน.
...........................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล