คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม

ผู้ชายหลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ของการมีเลือดปนในน้ำอสุจิหนึ่งครั้งหรือเป็นครั้งคราว ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทุกวัย บางครั้งอาจมองเห็นเลือดในน้ำอสุจิตลอดสองสามเดือนหรือมากกว่านั้น ซึ่งปริมาณของเลือดในน้ำอสุจิแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเป็นหยดเลือดหรือสายของเลือดในน้ำอสุจิหรือดูน้ำอสุจิเหมือนเป็นเลือด แม้ว่าอาการดังกล่าวนี้จะเป็นไม่นาน แต่การมีเลือดออกปนออกมากับน้ำอสุจินั้น เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยตกใจกลัวและกังวลเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยชายอายุน้อยกว่า 40 ปี

         การทดสอบสาเหตุการมีเลือดปนกับน้ำอสุจิมีหลายวิธีและควรได้รับคำแนะนำการรักษาจากแพทย์โดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบสาเหตุการมีเลือดปนในน้ำอสุจิ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเมื่อได้รับการวินิจฉัยเลือดในน้ำอสุจิ มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ การมีเลือดปนน้ำอสุจิอาจเกิดจากสภาวะที่มีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะผู้ชาย ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ลูกอัณฑะ ท่อเก็บเชื้ออสุจิ ท่อนำอสุจิจากลูกอัณฑะ ถุงพักน้ำอสุจิ (seminal vesicles) และต่อมลูกหมากการบาดเจ็บโดยตรง ส่วนประกอบของน้ำเชื้อประกอบด้วยตัวอสุจิและของเหลวที่หลั่งออกมาโดยต่อมลูกหมากและต่อมอื่น ๆ ของเหลวเหล่านี้เข้าร่วมกับตัวอสุจิซึ่งผ่านเข้าท่อปัสสาวะสำหรับการหลั่ง มีหลายสาเหตุที่สามารถทำ    ให้หลอดเลือดเสียหายหรือถูกทำลายไปตลอด   เส้นทางของน้ำเชื้อหรือทางเดินปัสสาวะไปถึงท่อปัสสาวะ หลอดเลือดอาจแตกหรือฉีกขาดแล้วมีเลือดรั่วไหลในการหลั่งน้ำอสุจิ หรือการปัสสาวะ โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ของการมีเลือดปนกับน้ำอสุจิได้แก่ นิ่วของกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยไม่ได้ร่วมเพศเป็นเวลานาน อาการเป็นหลังการตรวจตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 80 ที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก อาจมีเลือดปนกับน้ำอสุจิประมาณสามถึงสี่สัปดาห์หลังการผ่าตัด การบาดเจ็บของลูกอัณฑะเช่นเดียวกันหลังการผ่าตัดทำหมันโดยตัดท่อนำอสุจิอาจทำให้มีเลือดปนกับน้ำอสุจิประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังการผ่าตัด

         นอกจากนี้อาจพบจากการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้แก่ หนองในเทียม เริมที่อวัยวะเพศ โรคหนองใน มีอาการของท่อนำอสุจิอักเสบ โรคต่อมลูกหมากอักเสบ ท่อนำอสุจิอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ ส่วนสิ่งที่เป็นสาเหตุทางการแพทย์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบได้ในผู้สูงอายุมากกว่า ได้แก่ ก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะหรือต่อมลูกหมากเช่นถุงน้ำหรือติ่งเนื้อที่ยื่นออกมา มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคเลือดออกไม่หยุดหรือฮีโมฟีเลีย มะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโต เกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ รับประทานยาละลายลิ่มเลือด

         ฉะนั้นอย่าตกใจเกินกว่าเหตุ ปรึกษาแพทย์จะได้ข้อมูลและการรักษาที่ถูกต้อง

         ท่านใดที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศที่จะต้องขอถามหรือขอคำแนะนำปรึกษาให้โทรฯ ได้ที่เบอร์ 08-1814-5441, 09-9494-3336 เว็บไซต์ www.meetdoctoro.com : Line ID : droclinic

.....................
ดร.อุ๋มอึ๋ม...