คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 28 มิถุนายน 2559

เรียน คุณหมอ ดร.โอ ที่นับถือยิ่ง
ผมอายุ 57 ปี ยังทำงานในหน้าที่ราชการเต็มตัว สภาพร่างกายโดยทั่วไปผมเชื่อว่าสมบูรณ์แข็งแรงดี ผลตรวจร่างกายทุกปีทุกครั้ง ไม่มีโรคร้ายแอบแฝงอยู่ น้ำหนักและส่วนสูงสัมพันธ์ อวัยวะทุกส่วนเป็นปกติตามอายุขัย แต่ที่ไม่สมบูรณ์ก็คือสมรรถภาพทางเพศของผมมีปัญหาอย่างมาก อวัยวะเพศที่เคยแข็งขันแข็งสู้ทุกสนาม กลับไม่ยอมแข็งตัวแข็งสู้เป็นแบบนี้มาได้ 2 ปีแล้ว แฟนของผมเธอก็พยายามเอาใจช่วยกระตุ้นช่วยเล้าโลม แต่ตัวผมเองกลับไม่ได้เรื่อง ทั้ง ๆ ที่ในหัวใจพร้อมสู้อยากสู้ตลอดเวลา ซึ่งผมเองก็มึนกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาเหมือนกัน สุขภาพร่างกายดี แต่ทำไมสุขภาพสมรรถภาพทางเพศกลับไม่เอาไหนเลยแบบนี้
คุณหมอ ดร.โอ พิจารณาดูแล้ว จะมีคำแนะนำอะไรให้กับผมบ้างไหม เพื่อแก้ไขปัญหาให้หมดไป ขอความกรุณาด้วยครับผม
ด้วยความนับถือ
น.57

ตอบ คุณ น.57

    อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการ จากการศึกษาในชายสูงอายุในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Male Aging Study) ซึ่งศึกษาระบาดวิทยาของอาการนี้ไว้ดังนี้ หย่อนสมรรถภาพในระดับต่ำ : ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวพอดีสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เกือบทุกครั้ง หย่อนสมรรถภาพระดับปานกลาง : ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดีสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เป็นบางครั้ง หย่อนสมรรถภาพระดับ
รุนแรง : ผู้ป่วยไม่สามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดีพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เลย

    โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุทั้งทางร่างกายและจิตใจ สรุปได้ดังนี้คือ โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด (ประมาณ 70%) คือ โรคเบาหวานจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของโรคอีดี นอกจากนี้ก็มีโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น ความเคร่งเครียดในการทำงาน ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด หรือแม้แต่วัยหลังเกษียณแล้วก็ตาม ถ้าเกิดความเครียดความกังวลก็ส่งผลต่อโรคอีดีได้ พบได้ 20% ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคนี้มาก เพราะการสูบบุหรี่จัดส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากขึ้นพบได้เป็นเปอร์เซ็นต์ตามอายุ เช่น 50 ปี ก็ 50% 70 ปี ก็ 70% อย่างไรก็ตามอายุมากขึ้นไม่ใช่สาเหตุเดียวของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แต่เป็นเพราะโรคประจำตัวต่าง ๆ ตามอายุ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ การรักษาอาการอีดีนั้นมีหลายวิธีทั้งยากิน ยาฉีด ฝึกบริหารกล้ามเนื้อเพศ รวมไปถึงการใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดฝอยขึ้นมาใหม่ ตามหลักการรักษาอีดีที่ถูกต้องนั้น คนไข้จะต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ดูโรคแอบแฝงต่าง ๆ ระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน รวมทั้งต่อมลูกหมากร่วมด้วย สำหรับยากินที่ใช้รักษาอาการอีดีนั้นยังเป็นกลุ่มยาพีดีอี 5ไอ แต่ยากลุ่มนี้จะใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้นต้องไม่มีภาวะโรคหัวใจ และไม่ได้รับยาขยายหลอดเลือดกลุ่มไนเตรต ในขณะที่ยาฉีดนั้นขนาดการใช้ยาแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามระดับอาการอีดีตามที่กล่าวมาข้างต้น เพราะหากใช้ในปริมาณยาที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดแข็งตัวนานไม่อ่อนตัวเกิดผลเสียต่อคนไข้ได้ และคนไข้จะต้องได้รับการฝึกฉีดยาให้ชำนาญก่อนที่จะนำกลับไปใช้เองที่บ้านได้ ปัจจุบันคนไข้ที่ใช้ประจำมามากกว่า 20 ปี ก็ยังสามารถใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะได้รับกฝึกสอนวิธีใช้อย่างละเอียดถึงผลดีและข้อห้ามไม่ใจร้อนไม่ใช้ยาอย่างเอาใจฝ่ายหญิงมากเกินไป เป็นต้น

การรักษาอีดีจึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ก่อนเสมอ ยาไม่ใช่ขนมที่จะซื้อขายกันได้ง่าย ๆ คุณต้องการความสุขจากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการพบแพทย์จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป
ท่านใดที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศที่จะต้องขอถามหรือขอคำแนะนำปรึกษาให้โทรฯ ได้ที่เบอร์
08-1814-5441, 09-9494-3338 และเว็บไซต์ www.meetdoctoro.com Line ID : droclinic...