คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 15 สิงหาคม 2561

การทำงานของกระเพาะปัสสาวะแบบปกติ ไตขับน้ำปัสสาวะซึ่งไหลเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อคนเราจะปัสสาวะ น้ำปัสสาวะจะผ่านจากกระเพาะปัสสาวะผ่านช่องเปิดที่ด้านล่างและไหลออกจากท่อที่เรียกว่าท่อปัสสาวะ ใน

ผู้หญิงช่องเปิดของท่อปัสสาวะอยู่เหนือปากช่องคลอด ในผู้ชายการเปิดของท่อปัสสาวะอยู่ที่ปลายอวัยวะเพศชาย เมื่อน้ำปัสสาวะไหลเข้ากระเพาะปัสสาวะจนเต็มแล้ว จะมีการส่งสัญญาณประสาทไปยังสมอง และในที่สุดกระตุ้นความต้องการที่จะปัสสาวะ สัญญาณเส้นประสาทจะประสานให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อของท่อปัสสาวะ (กล้ามเนื้อหูรูดปัสสาวะ) กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะกระชับหรือหดตัว แล้วบีบผลักดันน้ำปัสสาวะออกมา

การบีบหรือหดตัวของกระเพาะปัสสาวะที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่พึงประสงค์ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเกิดขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะเริ่มต้นที่จะทำหดตัวโดยไม่ได้ตั้งใจ แม้ปริมาณของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ต่ำหรือน้อย การหดตัวโดยไม่ได้ตั้งใจนี้สร้างความจำเป็นในการปัสสาวะเร่งด่วน ซึ่งโดยปกติทั่วไปขณะน้ำปัสสาวะยังไม่เต็มจะมีการส่งสัญญาณประสาทไปยังสมอง และระงับการกระตุ้นความต้องการที่จะปัสสาวะ สัญญาณเส้นประสาทจะประสานให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ แต่เมื่อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเกิดขึ้น

เงื่อนไขหลายประการอาจนำไปสู่อาการที่กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ได้แก่ ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก, โรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา, โรคเบาหวาน, ยาที่ทำให้มีการผลิตปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วหรือทำให้กระหายน้ำ, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเฉียบพลันที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน, ความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ เช่น เนื้องอกหรือนิ่วกระเพาะปัสสาวะ, ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลออกของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต ฯลฯ

ปัจจัยเสี่ยง ในขณะที่อายุมากขึ้น ความเสี่ยงของการพัฒนาเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความผิดปกติอื่น ๆ เช่น ต่อมลูกหมากโตและโรคเบาหวานที่อาจขยายตัวทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ในการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยหลายคนที่มีการทำหน้าที่ของสมองลดลง-ตัวอย่างเช่น หลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด สามารถพัฒนาเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ปัสสาวะเล็ดราดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์เช่นนี้สามารถจัดการด้วยตารางเวลาการดื่มน้ำ ตารางเวลาการปัสสาวะ เสื้อผ้าดูดซับน้ำและโปรแกรมการขับถ่ายของลำไส้ ผู้ป่วยบางคนที่มีกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ยังมีปัญหาการควบคุมลำไส้ร่วมด้วยได้.
...............................................
ศ.นท.ดร.สมพล  เพิ่มพงศ์โกศล