คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 10 ตุลาคม 2561

สังกะสี ยังไม่ทราบความเชื่อมโยงระหว่างสังกะสีกับสุขภาพทางเพศมากนัก แต่สังกะสีมีผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชายของร่างกาย นอกจากนี้ยังจำเป็นสำหรับการพัฒนาตัวอสุจิและน้ำอสุจิในผู้ชาย ระดับสังกะสีที่เพียงพออาจเพิ่มความสมบูรณ์ของการเจริญพันธ์ุของเพศชาย สังกะสีและสารอาหารอื่น ๆ เช่น โฟเลต (Folate; วิตามินบีที่ละลายน้ำได้) อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของสตรีคือโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ สังกะสีอาจมีอยู่ในรูปแบบอาหารเสริม นอกจากนี้ยังพบในอาหารบางชนิดเช่น หอยนางรม (Oysters) เป็นแหล่งที่สมบูรณ์ที่สุดของธาตุทางธรรมชาติที่จำเป็นนี้หอยนางรมให้ สังกะสีจำนวนมาก ประมาณ 745 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ไม่น่าแปลกใจที่อาหารเหล่านี้ได้รับการยอมรับมาดั้งเดิมและถูกมองว่าเป็นยาหรือสารกระตุ้นความต้องการทางเพศ

แอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์อาจลดหรือเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ อย่างไรก็ตามแอลกอฮอล์เองก็ยังสามารถทำให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบบเฉียบพลันและหรือเรื้อรัง รวมทั้งอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยเช่นกัน เมื่อมีเพศสัมพันธ์ ร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้มีการลดลงของการป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์และเพิ่มความเสี่ยงของการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ถ้าไม่สามารถควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลเสียต่อพฤติกรรมและความสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่าพึ่งพาแอลกอฮอล์เพื่อส่งเสริมชีวิตทางเพศเป็นเรื่องดีที่สุด

พฤติกรรมและความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องอาหาร บางครั้งอาหารอาจเป็นแหล่งความเครียดและความขัดแย้งในความสัมพันธ์ทางเพศได้ ในทางกลับกันการรับประทานอาหารร่วมกันอาจเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์หรือผูกมัดคู่ชีวิตได้การรับประทานอาหารด้วยกัน ในความรู้สึกบางประการ สมองเป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์ทางเพศจะเริ่มต้นด้วยการสร้างอารมณ์ ความสนิทสนมและความปรารถนาทางเพศ ในขณะเดียวกันเวลารับประทานอาหารร่วมกันอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีในการผ่อนคลายกับคู่ชีวิตและสร้างความสนิทสนมในบรรยากาศที่เพลิดเพลิน

ความขัดแย้งในเรื่องอาหาร บางครั้งความชอบและนิสัยเรื่องอาหารที่แตกต่างกัน อาจทำให้เกิดความเครียดในความสัมพันธ์ระหว่างคู่ได้เช่นกัน ดังนั้น ควรได้มีโอกาสพูดคุยกับคู่ชีวิต เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทาน เพื่อช่วยสร้างความสนิทสนมและความไว้วางใจระหว่างกัน สาเหตุของความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในเรื่องอาหาร อาจรวมถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม,ข้อจำกัดด้านศาสนา,ความตึงเครียดระหว่างผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติกับผู้สามารถรับประทานได้ทุกอย่าง,ความตึงเครียดระหว่างผู้รับประทานอาหารที่พิถีพิถันกับผู้ที่ชอบอาหารที่แปลกท้าทาย นอกจากนี้ถ้ามีประวัติความผิดปกติของการรับประทานอาหาร การอดอาหารเรื้อรังหรือต้องควบคุมอาหาร อาจมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันของเรื่องอาหารและสิ่งอื่น ๆ ตามมาโดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางเพศ.
....................................................
ศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล