คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 16 มกราคม 2562

เมื่อใดควรไปพบแพทย์? หากท่านมีการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือองคชาตตื่นตัวนานมากกว่า 4 ชั่วโมง ท่านต้องได้รับการดูแลรักษาแบบฉุกเฉิน แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินจะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยว่าท่านมีอาการองคชาตแข็งค้างประเภทใด ซึ่งได้แก่เป็นประเภทขาดเลือดหรือไม่ขาดเลือด ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเพราะการรักษาแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันและการรักษาสำหรับอาการองคชาตแข็งค้าง ประเภทขาดเลือด ต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

หากท่านพบว่าการแข็งตัวของอวัยวะเพศเป็นซ้ำใหม่ คือมีอาการกำเริบถาวรและมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย ถึงแม้ในกรณีที่ท่านสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเองก็ยังคงควรไปพบแพทย์ เพราะท่านควรได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

สาเหตุ ปกติแล้วการแข็งตัวของอวัยวะเพศเกิดขึ้นจากการกระตุ้นทางร่างกายหรือจิตใจ การกระตุ้นนี้ทำให้หลอดเลือดและกล้ามเนื้อเรียบบางส่วนของอวัยวะเพศคลายตัวและหรือขยายตัว ซึ่งจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่เป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำในอวัยวะเพศชาย ดังนั้นอวัยวะเพศที่เต็มไปด้วยเลือดก็จะแข็งตัวขึ้น หลังจากการกระตุ้นสิ้นสุดลง เลือดจะไหลออกมาและอวัยวะเพศชายจะกลับสู่สภาวะที่ไม่แข็งตัว
องคชาตแข็งค้างเกิดขึ้นเมื่อบางส่วนของระบบนี้คือ – เลือด หลอดเลือด กล้ามเนื้อเรียบหรือเส้นประสาท – เกิดเปลี่ยนการไหลเวียนของเลือดปกติ ต่อจากนั้นการแข็งตัวยังคงอยู่ ในขณะที่สาเหตุพื้นฐานขององคชาตแข็งค้าง มักไม่สามารถระบุได้ แต่เชื่อว่ามีหลายเงื่อนไขที่จะมีบทบาทต่อองคชาตแข็งค้าง

1. โรคทางระบบโลหิตวิทยา โรคที่เกี่ยวกับเลือดอาจนำไปสู่องคชาตแข็งค้าง – โดยปกติคือการขาดเลือดขององคชาตแข็งค้าง เมื่อเลือดไม่สามารถไหลออกจากอวัยวะเพศได้ ความผิดปกติเหล่านี้รวมถึง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว/โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ความผิดปกติทางโลหิตวิทยาอื่น ๆ เช่น โรค ธาลัสซีเมีย (สภาวะที่การสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือด ไม่สามารถสร้างได้โดยสมบูรณ์ หรือสร้างได้น้อยลง จนทำให้ออกซิเจนที่ต้องเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายลดน้อยลง) โรคมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลม่า เป็นมะเร็งของเม็ดเลือดพลาสม่า เซลล์ปกติร่างกายจะมีจำนวนพลาสม่าเซลล์ (Plasma cell ) คือ เม็ดเลือดชนิดหนึ่งซื่งอาศัยอยู่ในไขกระดูกและอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคทางระบบโลหิตวิทยาที่เกี่ยวข้องซึ่งพบบ่อยที่สุดในเด็กคือโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว.
.....................................................
ศ.น.ท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล