คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 3 เมษายน 2564

การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (อีดี) เป็นเพียงอาการหนึ่งในหลาย ๆ อาการของการบกพร่องทางเพศ (เอสดี-SD : Sexual dysfunction) ได้แก่ อาการหลั่งเร็ว อาการหลั่งช้า อาการเฉื่อยชาทางเพศ การไม่ถึงจุดสุดยอด อาการอย่างไรที่เข้าข่ายเป็นอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (อีดี) โดยอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการ จากการศึกษาในชายสูงอายุในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ ศึกษาระบาดวิทยาของอาการนี้ไว้ดังนี้

หย่อนสมรรถภาพ ระดับต่ำ ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวพอดีสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เกือบทุกครั้ง

หย่อนสมรรถภาพ ระดับปานกลาง ผู้ป่วยสามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดีสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เป็นบางครั้ง

หย่อนสมรรถภาพ ระดับรุนแรง ผู้ป่วยไม่สามารถมีอวัยวะเพศแข็งตัวดีพอสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ได้เลย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ จำนวนมาก ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และ โรคมัลติเปิล สเคลอโรซิส (Multiple Sclerosis) โรคเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติต่อหลอดเลือด เส้นประสาทของอวัยวะที่จะมีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ นอกจากนั้นยาหลายชนิดก็มีผลด้วยเช่นกัน การลดลงของการสร้างฮอร์โมนชายแอนโดรเจนก็อาจทำให้ความสนใจในทางเพศลดลง และ/หรือทำให้การแข็งตัวลดลงด้วย

ชายท่านใดที่มีอาการหย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ ไม่ว่าจะระดับมาก ปานกลาง หรือน้อยก็ตาม ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการแก้ไขฟื้นฟูต่อไป ปัจจุบันการรักษาสามารถรักษาให้แข็งแรงได้ระดับที่ดีเกิน 70% ยิ่งเริ่มรักษาและฟื้นฟูเร็ว ยิ่งฟื้นตัวได้เร็ว โอกาสที่จะฟื้นตัวรักษาแล้วสามารถแข็งแรงได้เท่าวัย 30 ปี พบได้เกิน 80-90% โดยเฉพาะกลุ่มเบาหวานเรื้อรัง กลุ่มผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

ขณะนี้มีคนไข้ทั้งประเทศมากเกิน 100,000 คนแล้ว ที่พบปัญหาไม่แข็งตัว เป็นเวลาหลายปี จนคุณผู้หญิงเบื่อหน่าย จึงเป็นโอกาสที่ชายผู้มีความรับผิดชอบต่อฝ่ายหญิงสมควรดูแลตนเองกับแพทย์.

..............
ดร.อุ๋มอึ๋ม