คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 5 มิถุนายน 2564

โรคที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ชายหลังวัยเกษียณมีหลายชนิด เช่น ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ และโรคเบาหวาน ฯลฯ โรคเหล่านี้ส่งผลต่อการแข็งตัวอวัยวะเพศลดลง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและการขาดฮอร์โมนเพศชายจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน อ้วนลงพุง กล้ามเนื้อผอมลีบสมองเสื่อม ซึมเศร้า และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ต่อมลูกหมากโตจะพบมากขึ้นเมื่ออายุยิ่งสูงขึ้น อาการคือปัสสาวะไม่คล่อง ออกช้า ต้องออกแรงเบ่งมาก ปัสสาวะขัด บ่อยหรือไม่สุดและมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย

การตรวจสุขภาพของผู้ชายในวัยนี้มีความจำเป็นเพื่อชะลอความเสื่อมของสุขภาพ ทำให้ปราศจากโรคและรักษาสมรรถภาพทางเพศไว้ให้ยืนยาวที่สุด สิ่งที่ควรตรวจคือความเข้มของเลือด ระดับน้ำตาล สารครีเอตินิน กรดยูริก และเอนไซม์ของตับ เอกซเรย์ปอด ตรวจตับและถุงน้ำดีด้วยวิธีอัลตราซาวด์ สำหรับฮอร์โมนเพศชายถ้ามีอาการก็ควรตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด เพราะการรักษาตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ดีกว่าการปล่อยให้เนิ่นนานไป
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง เดิน ว่ายน้ำ เล่นกีฬา หรือเต้นแอโรบิกจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่อ้วน ปอดหัวใจทำงานมีประสิทธิภาพ สมองปลอดโปร่งและอารมณ์แจ่มใส ปัจจุบันการแพทย์เจริญก้าวหน้าไปมาก มาตรฐานการดูแลสุขภาพร่างกายและโรคภัยไข้เจ็บดีกว่าแต่ก่อน ทำให้ประชากรโลกมีอายุยืนยาว

แต่ชีวิตที่ยืนยาวต้องเป็นชีวิตที่มีคุณภาพไม่ใช่ชีวิตที่เหี่ยวเฉาขาดความสุขทางเพศ สมรรถภาพที่แข็งแรง จึงเป็นความจำเป็นสำหรับวัยหลังเกษียณถึง 90 ปี จึงจะมีคุณค่าของผู้ชายทุกคน เมื่อเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากโรคตามวัย ก็ต้องมีวิธีรักษาความแข็งแรงทางเพศให้ฟื้นคืนแข็งแรงดีเท่าวัย 20-30 ปีให้ได้ ตัวอย่างสำคัญสุดที่ทำให้เสื่อมคือ เบาหวาน ความดันสูง สุดท้ายเป็นมากที่สุดจะพบหลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก ทุกคนจะร่วมเพศไม่ได้ดีหรือไม่ได้เลย พบได้ทุกคนแม้จะมีวัย 50 ต้น ๆ ถึง 90 จะเป็นเช่นกัน

การแก้ไขคือฟื้นฟูเส้นเลือดให้สร้างเพิ่มขึ้นคู่กับเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพศอย่างเป็นระบบให้ฟื้นแข็งแรงจนร่วมเพศได้ใน 3 อาทิตย์ ชีวิตระยะชราถึงจะคุ้มค่า ไม่อับเฉา หากตั้งใจฟื้นฟูตามที่แพทย์กำกับก็จะพบกำไรชีวิตใช้ได้ที่คุ้มแสนคุ้ม.

--------------
ดร.อุ๋มอิ๋ม