คอลัมน์ “เสพสม”

เสพสมบ่มิสม วันที่ 31 สิงหาคม 2559

ปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์ของผู้สูงอายุในสังคมไทยยังเป็นปัญหาที่ไม่ชัดเจนมากนัก 

ในบทความนี้จะกล่าวถึงกิจกรรมทางเพศในชายสูงอายุ ความปลอดภัยในการมีกิจกรรมทางเพศในชายสูงอายุ การรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชายสูงอายุ ตลอดจนการรักษาด้วยการรับประทานยาและการทดแทนด้วยฮอร์โมน ตามผลงานวิจัยจากต่างประเทศเป็นหลัก

สถิติประชากรผู้สูงอายุ
มีข้อมูลการสำรวจประชากรจากหน่วยงานทางเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติ โดยแบ่งประชากรเป็นกลุ่มอายุระหว่าง 60-79 ปีและกลุ่มอายุเท่ากับ 80 ปีหรือมากกว่าตามการพัฒนาของแต่ละประเทศ ในปี พ.ศ.2543  พ.ศ. 2558 และคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2573 และ พ.ศ. 2593 พบว่าทั่วโลกจะมีประชากรซึ่งมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 80 ปีเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนามากแล้ว และจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้นตามระยะเวลามากกว่ากลุ่มประเทศที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนา   

มีการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2593  ว่าทุกสองคนในชายสูงอายุมากที่สุดสามคนจะอาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และมีสิ่งที่น่าสนใจคือพบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนของประชากรซึ่งมีอายุจะมีจำนวนมากที่สุดในโลก คือร้อยละ 33 ของประชากรทั้งหมดจะมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60  ปี
ในพ.ศ. 2558

กิจกรรมทางเพศในผู้สูงอายุ
มีรายงานกิจกรรมทางเพศในผู้สูงอายุจำนวนมากจากการศึกษาในต่างประเทศตามระยะเวลาดังนี้ 

1. ในปี พ.ศ. 2511 มีรายงานว่าร้อยละ 95 ของชายอายุระหว่าง 46-50 ปีมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 28 ของชายอายุระหว่าง 66-71 ปีมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละครั้ง

2. ในปี พ.ศ.2536 มีรายงานพบว่าร้อยละ 83 ของชายอายุระหว่าง 30-50 ปีมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละครั้ง ร้อยละ 68 ของผู้หญิงซึ่งมีอายุที่เท่ากันมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละครั้ง  

3. ในปี พ.ศ.2538 มีรายงานร้อยละ 40 ของผู้มีอายุ 80 ปีมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอตามปกติ  

4. ต่อมามีการสำรวจผู้ชายในปี พ.ศ.2543 พบว่าร้อยละ 71 ของชายอายุ 70-80 ปียังคงมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 41 ของชายอายุระหว่าง 70-80 ปี จะมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละครั้ง   

5. ในปี พ.ศ.2552 มีรายงานร้อยละ 50 ของชายอายุมากกว่า 70 ปี ยังคงมีกิจกรรมทางเพศ ร้อยละ 30 ของผู้หญิงมากกว่า 70 ปี ยังคงมีเพศสัมพันธ์จากรายงานดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดอาจสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิงยังคงมีกิจกรรมทางเพศแต่ผู้ชายจะมีมากกว่าผู้หญิง   

มีงานวิจัยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศและคุณภาพชีวิตในชายสูงอายุจากประเทศอินโด นีเซีย โดยสำรวจผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 14,958 คนซึ่งมีอายุมากกว่า 50 ปีในประเทศอินโดนีเซีย ผู้ชายสูงอายุมักจะถูกรายงานว่ามีกิจกรรมทางเพศและพบมีปัญหาทางเพศในผู้หญิงซึ่งมีอายุบ่อยมากกว่า

โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมักจะสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตซึ่งไม่ดีในกลุ่มประชากรสูงอายุ  การช่วยให้มีสุขภาพทางเพศที่ดีขึ้นควรเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้มีคุณภาพทางร่างกายและจิตใจที่ดีในประชากรสูงอายุ.

........................................................
ศ.น.ท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล...